Enginova Co.,Ltd.

การจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายการอนุรักษ์พลังงาน
ภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕
(และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๕๐)
สำหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม

       เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง อันเป็นภาระแก่ประเทศในการลงทุนเพื่อจัดหาพลังงานทั้งในและนอกประเทศไว้ใช้ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว และปัจจุบันการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้มีการผลิตและการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการก่อให้เกิดการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและวัสดุที่ใช้ในการอนุรักษ์พลังงานขึ้นภายในประเทศนั้น ยังไม่สามารถเร่งรัดดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้ ด้วยเหตุนี้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้ยกร่างกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานขึ้นมา เพื่อกำหนดมาตรการในการกำกับ ดูแล ส่งเสริม และช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้พลังงาน โดยมีการกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงาน เป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การอนุรักษ์พลังงาน วิธีปฏิบัติในการอนุรักษ์พลังงาน การกำหนดระดับการใช้พลังงานในเครื่องจักรและอุปกรณ์ การจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้การอุดหนุน ช่วยเหลือในการอนุรักษ์พลังงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพลังงานและกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ หรือผลิตเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง หรือวัสดุเพื่อใช้ในการอนุรักษ์พลังงาน ในท้ายที่สุด “พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕” ก็ได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติและได้มีพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕

        อย่างไรก็ดี เนื่องจากพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ มีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ฝ่ายนิติบัญญัติจึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวเพี่อให้สามารถกำกับและส่งเสริมการใช้พลังงานการอนุรักษ์พลังงานให้มีประสิทธิภาพและสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการอนุรักษ์พลังงานให้ทันต่อเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานด้านประสิทธิภาพของการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตลอดจนการมอบหมายให้บุคคลหรือนิติบุคคลตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน การใช้พลังงานในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ และคุณภาพวัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานแทนพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ตรา “พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐” ขึ้นใช้บังคับ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ และให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด ๑๘๐ วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นต้นไป

  ในการนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจึงได้จัดทำคู่มือและคำอธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติและกฎหมายลำดับรองที่ได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ ทั้งนี้เพื่อเจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุม ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าใจถึงแนวทางการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายฉบับนี้ อันจะนำไปสู่การปฏิบัติการตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง โดยมีการจัดทำคู่มือและคำอธิบาย แบบกรอกข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งพระราชบัญญัติ และกฎหมายลำดับรองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยสามารถ Down Load ได้ดังนี้

1. กฎหมาย

1.1 พ.ร.บ.

1.2 พระราชกฤษฎีกา

1.3 กฎกระทรวง

1.4 ประกาศกระทรวง

1.5 ประกาศกรมฯ

2. แบบฟอร์มปฏิบัติงาน

2.1 การขึ้นทะเบียนโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม

2.2 การขอผ่อนผัน

2.3 การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน

2.4 การจัดการอนุรักษ์พลังงาน

2.5 ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน

2.6 การส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ E-From

3. เอกสารเผยแพร่

3.1 คู่มือ

3.2 เอกสารสัมมนา

3.3 ข้อมูล

Credit : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) http://www.dede.go.th